วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ระบบกล้ามเนื้อ


ระบบกล้ามเนื้อ รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

รายชื่อผู้จัดทำ
นายกฤษฏิพงษ์  สายเกษม        ม.6/5  เลขที่ 9
นายนฤดล       ตันวิสุทธิ์       ม.6/5  เลขที่ 18
นายพีรศักดิ์     แซ่อึ๋ง           ม.6/5  เลขที่ 21
นายศุภวิชญ์     เตรียมพิทักษ์   ม.6/5  เลขที่ 22

ส่ง
อ.จัตวา อรจุล

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัยรุ่นกับปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ


พฤติกรรมเสี่ยง หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลปฏิบัติแล้วนำไปสู่การเกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของตนเองและผู้อื่น เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงของบุคคลเหล่านี้ ล้วนแต่ส่งผลถึงสุขภาพของบุคคลอื่น ๆ ในสังคมด้วย เช่น การเมาสุราแล้วขับรถชนผู้อื่น หรือการทำร้ายผู้อื่นในการวางแผนป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในสังคมจึงควรคำนึงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงของบุคคลในสังคม ต่อไปนี้

1. การสูบบุหรี่ 


การสูบบุหรี่นอกจากจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองแล้ว ยังก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลที่อยู่รอบตัวอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน หรือแม้แต่คนอื่น ๆ ในสังคม เพราะในขณะที่บุคคลกำลังสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ที่ถูกปล่อยออกมาประกอบไปด้วยสารต่าง ๆ ที่เป็นอันตราย ต่อร่างกาย เช่น สารนิโคติน ทาร์ และ หมอกควันที่เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งส่งผลให้บุคคลที่สูบบุหรี่หรือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคมะเร็งปอด ผลกระทบดังกล่าวทำให้ปัจจุบันมีการออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ หรือบนรถโดยสารประจำทาง เพื่อเป็นการคุ้มครองและดูแลสุขภาพของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม
2. การงดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 




การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพของตัวผู้ดื่มเองแล้ว ยังส่งผลให้เกิดปัญหาในครอบครัว และเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งสืบเนื่องมาจากการขับขี่ในขณะมึนเมา เป็นผลให้สังคมเกิดการสูญเสียทางด้านอื่น ๆ ตามมา ดังนั้น หากรู้ตัวว่าจะต้องขับขี่รถจึงควรดื่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือถ้าเลิกดื่มได้ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ
3. ไม่เสพสารเสพติด 




สารเสพติดทุกชนิดล้วนแล้วแต่มีอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตทั้งต่อตนเองและสังคม เช่น ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ เป็นเหตุให้ประเทศชาติต้องเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล และบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ ดังนั้นบุคคลทุกเพศทุกวัย จึงควรหลีกเลี่ยงไม่เสพสารเสพติดทุกชนิด และต้องช่วยกันสอดส่องดูแลให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม โดยการแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแหล่งผลิต ค้า จำหน่าย และแหล่งมั่วสุม เพื่อดำเนินการกฎหมาย
4. พฤติกรรมทางเพศ 



การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การสำส่อนทางเพศจะทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งโรคที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมปัจจุบันนี้ก็คือ โรคเอดส์ เพราะเป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ และยังพบสถิติของการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เราจึงควรป้องกันโดยการมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม คือ การมีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่มีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่สมรส ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร

5. การดูแลรักษาสภาพแวดล้อม




การดูแลรักษาสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ และยังเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรคได้ ซึ่งทุกคนสามารถช่วยกันดูแลสภาพแวดล้อมในสังคมได้โดยการช่วยกันรักษาความสะอาดทิ้งขยะในที่รองรับ จัดสภาพบ้านหรือชุมชนของตนให้ถูกสุขาภิบาล เข้าร่วมกิจกรรมและปฏิบัติตามกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่สังคมจัดขึ้น เพียงเท่านี้สังคมของเราก็จะเป็นสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีและน่าอยู่อาศัย


ที่มา : http://www.vimanloy.com/lesson/lesson3.php


การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ชุมชน และสังคม



การวางแผนดูแลสุขภาพ หมายถึง การกำหนดแนวทางในการเลือกรูปแบบของการปฏิบัติ เพื่อการดูแลสุขภาพที่นำมาสู่สุขภาพที่นำมาสู่สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หมายถึง การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติเพื่อส่งผลให้บุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ หรือสมาชิกในครอบครัวทุกคนมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
การวางแผนดูและสุขภาพของบุคคลในชุมชน หมายถึง กระบวนการคิดที่มีผลต่อการเลือกปฏิบัติที่ทุกคนในชุมชนต้องร่วมกันปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในสังคม
 หมายถึง กระบวนการในการวางแผนเพื่อให้ทุกคนในสังคมมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งการที่บุคคลในสังคมจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์ได้นั้น จำเป็นต้องเริ่มมาจากหน่วยที่เล็กที่สุด นั่นคือ การดูแลสุขภาพบุคคลและสมาชิกในครอบครัว จากนั้นจึงออกไปสู่ชุมชน และสังคม ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวในที่สุดก็จะนำไปสู่การมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้

จะเห็นได้ว่าการดูแลสุขภาพไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ล้วนแต่มีความสำคัญต่อกันทั้งสิ้น ดังนั้นการดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว ชุมชน และสังคม จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งเพราะถือว่ามีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพของชีวิตมนุษย์ให้ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดไป โดยจะต้องมีการวางแผนดูแลสุขภาพที่เหมาะสม



ที่มา : http://www.vimanloy.com/lesson/lesson2.php



วิดีโอเรื่อง Muscular System


ระบบกล้ามเนื้อ


ระบบกล้ามเนื้อ



กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นพิเศษพบได้ทุส่วนของร่างกาย กล้ามเนื้อบางชนิดอยู่ใต้อำนาจจิตใจ สามารถบังคับได้
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจหรือกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถบังคับได้ กล้ามเนื้อในร่างกายแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อเดียวที่ยึดติดกับกระดูก บางครั้งจึงเรียกว่า กล้ามเนื้อกระดูก” ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลายขาวดำสลับกัน ในหนึ่งเซลล์จะมีหลายนิวเคลียส กล้ามเนื้อลายมีความแข็งแรงและสามารถหดตัวได้สูง ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทส่วนกลาง เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขากล้ามเนื้อลำตัว เป็นต้น 

2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเรียบไม่มีลาย เซลล์มีลักษณะแบนยาว ปลายแหลมเรียว รูปร่างคล้ายกระสวย ภายในมีนิวเคลียสอันเดียว หดตัวได้ ใช้พลังงานน้อย ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ผนังลำไส้ ปอด ผนังกระเพาะอาหาร เป็นต้น

3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโยเฉพาะ เซลล์จะมีลายพาดขวาง มีนิวเคลียสหลายอัน เหมือนกล้ามเนื้อลาย ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ


การทำงานของกล้ามเนื้อ

1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย เกิดจากการทำงานร่วมกันของโครงกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบประสาท โดยมีการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับโครงกระดูก ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว

2. การหดตัวของกล้ามเนื้อ มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนเซลล์ของกล้ามเนื้อได้พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อการหดตัวโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อบางชนิดสามารถหดตัวได้เร็วมาก เช่น การเคลื่อนไหวของนัยน์ตา หารเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ตามกล้ามเนื้อจะทำงานโดยการหดตัว และเมื่อหยุดทำงานกล้ามเนื้อจะคลายตัว

กล้ามเนื้อคือ ส่วนที่เป็นเนื้อของเรา กล้ามเนื้อแต่ละมัดประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อจำนวนมากรวมกันเป็นมัด ที่ปลายมัดคือ เอ็นทำหน้าที่เชื่อมกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นจะสั้นลง กล้ามเนื้อทั้งมัดจะหดตัวลงดึงเอ็นซึ่งจะดึงกระดูกเข้ามาใกล้กันมากขึ้น เช่น การเคลื่อนไหวของนักกีฬา กล้ามเนื้อด้านหลังและด้านหน้าต้นขาหัวเข่างอและเหยียดตามลำดับ ขณะที่กล้ามเนื้อน่องและหน้าแข้งจะงอและเหยียดข้อเท้า ตามลำดับ


ลักษณะการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ การบอดเจ็บที่กล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้บ่อยๆ จากการใช้กำลังกล้ามเนื้อมากเกินไปหรือเกิดจากการถูกกระแทก ซึ่งการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย คือ กล้ามเนื้อช้ำและกล้ามเนื้อฉีกขาดกล้ามเนื้อช้ำ (Contusion) คือ การที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อได้รับแรงกระทบโดยตรงจนเกิดการฟกช้ำ เนื่องจากเส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นฉีกขาด เลือดจึงออกมาคั่งอยู่ภายในกล้ามเนื้อ โดยที่ผิวหนังบริเวณนั้นไม่มีการฉีกขาด ทำให้มีอาการเจ็บ ปวด บวม เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อขาดคุณสมบัติในการหดตัว จึงทำงานไม่สะดวก มักเกิดจากการถูกกระทบกระแทกอย่างรุนแรงจากวัตถุที่ไม่มีคม กล้ามเนื้อฉีกขาด (Muscle strain) คือ การที่กล้ามเนื้อหรือเอ็นกล้ามเนื้อถูกยืดออก หรือถูกใช้งานมากเกินไป ซึ่งสามารถแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ กล้ามเนื้อฉีกขาดเล็กน้อย (Mild strain) กล้ามเนื้อฉีกขาดปานกลาง (Moderate strain) และกล้ามเนื้อฉีกขาดอย่างรุนแรง (Severe strain) มักเกิดจากการยกของหนักมากเกินไป การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว


หลักสำคัญในการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ

1.       หยุดพักการใช้กล้ามเนื้อนั้นทันที

2.       ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูงเพื่อลดอาการบวม

3.       ประคบเย็นบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อลดอาการบวมปวด ใช้ผ้ายืดพันบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อให้เลือดหยุดคั่งและจำกัดการเคลื่อนไหว
คุณค่าของการมีสมรรถภาพทางกายดี
1. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีย่อมจะทาให้ร่างกายได้มีการเจริญติบโตได้อย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายเติบโตได้สัดส่วน มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถทางานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีจะเป็นผู้ที่บุคลิกลักษณะดี สง่าผ่าเผย สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยความสง่างาม คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง
3. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ถ้าอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนจะสามารถตรากตรา มีสมาธิในการศึกษาเล่าเรียนได้ดี
4. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีในวัยเด็กจะทาให้เด็กคนนั้นเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น มีควมเชื่อมั่นในตนเองสูง
5. ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีย่อมจะควบคุมน้าหนักของตนเอง เพราะได้ออกกาลังกายอยู่เป็นประจา การควบคุมน้าหนักตัวด้วยวิธีลดอาหารอย่างเดียวนั้น เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง แต่ควรจะเป็นการควบคุมด้วยการออกกาลังกาย และควบคุมอาหารควบคู่กันไป
6. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดี ย่อมจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทางานประสานกันระหว่างระบบไหลเวียนโลหิตกับระบบหายใจ ซึ่งจะเป็นการป้องกันโรคหัวใจเสื่อมสมรรถภาพได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันนี้เชื่อว่าวิธีป้องกันโรคนี้ก็ด้วยการออกกาลังกายเป็นประจา เพื่อให้มีสมรรถภาพทางกายดีนั่นเอง
7. ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดี ย่อมทาให้กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายมีสมรรถภาพดีด้วย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลังตอนล่างถ้ากล้ามเนื้อนี่มีสมรรถภาพดีแล้ว จะช่วยในการป้องกันโรคปวดหลังเมื่อมีอายุมากขึ้นได้ด้วย


ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~jat/contents/40204/2.Conditioning.pdf