วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ระบบกล้ามเนื้อ


ระบบกล้ามเนื้อ



กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นพิเศษพบได้ทุส่วนของร่างกาย กล้ามเนื้อบางชนิดอยู่ใต้อำนาจจิตใจ สามารถบังคับได้
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจหรือกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถบังคับได้ กล้ามเนื้อในร่างกายแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อเดียวที่ยึดติดกับกระดูก บางครั้งจึงเรียกว่า กล้ามเนื้อกระดูก” ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลายขาวดำสลับกัน ในหนึ่งเซลล์จะมีหลายนิวเคลียส กล้ามเนื้อลายมีความแข็งแรงและสามารถหดตัวได้สูง ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทส่วนกลาง เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขากล้ามเนื้อลำตัว เป็นต้น 

2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเรียบไม่มีลาย เซลล์มีลักษณะแบนยาว ปลายแหลมเรียว รูปร่างคล้ายกระสวย ภายในมีนิวเคลียสอันเดียว หดตัวได้ ใช้พลังงานน้อย ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ผนังลำไส้ ปอด ผนังกระเพาะอาหาร เป็นต้น

3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโยเฉพาะ เซลล์จะมีลายพาดขวาง มีนิวเคลียสหลายอัน เหมือนกล้ามเนื้อลาย ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ


การทำงานของกล้ามเนื้อ

1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย เกิดจากการทำงานร่วมกันของโครงกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบประสาท โดยมีการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับโครงกระดูก ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว

2. การหดตัวของกล้ามเนื้อ มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนเซลล์ของกล้ามเนื้อได้พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อการหดตัวโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อบางชนิดสามารถหดตัวได้เร็วมาก เช่น การเคลื่อนไหวของนัยน์ตา หารเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ตามกล้ามเนื้อจะทำงานโดยการหดตัว และเมื่อหยุดทำงานกล้ามเนื้อจะคลายตัว

กล้ามเนื้อคือ ส่วนที่เป็นเนื้อของเรา กล้ามเนื้อแต่ละมัดประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อจำนวนมากรวมกันเป็นมัด ที่ปลายมัดคือ เอ็นทำหน้าที่เชื่อมกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นจะสั้นลง กล้ามเนื้อทั้งมัดจะหดตัวลงดึงเอ็นซึ่งจะดึงกระดูกเข้ามาใกล้กันมากขึ้น เช่น การเคลื่อนไหวของนักกีฬา กล้ามเนื้อด้านหลังและด้านหน้าต้นขาหัวเข่างอและเหยียดตามลำดับ ขณะที่กล้ามเนื้อน่องและหน้าแข้งจะงอและเหยียดข้อเท้า ตามลำดับ


ลักษณะการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ การบอดเจ็บที่กล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้บ่อยๆ จากการใช้กำลังกล้ามเนื้อมากเกินไปหรือเกิดจากการถูกกระแทก ซึ่งการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย คือ กล้ามเนื้อช้ำและกล้ามเนื้อฉีกขาดกล้ามเนื้อช้ำ (Contusion) คือ การที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อได้รับแรงกระทบโดยตรงจนเกิดการฟกช้ำ เนื่องจากเส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นฉีกขาด เลือดจึงออกมาคั่งอยู่ภายในกล้ามเนื้อ โดยที่ผิวหนังบริเวณนั้นไม่มีการฉีกขาด ทำให้มีอาการเจ็บ ปวด บวม เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อขาดคุณสมบัติในการหดตัว จึงทำงานไม่สะดวก มักเกิดจากการถูกกระทบกระแทกอย่างรุนแรงจากวัตถุที่ไม่มีคม กล้ามเนื้อฉีกขาด (Muscle strain) คือ การที่กล้ามเนื้อหรือเอ็นกล้ามเนื้อถูกยืดออก หรือถูกใช้งานมากเกินไป ซึ่งสามารถแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ กล้ามเนื้อฉีกขาดเล็กน้อย (Mild strain) กล้ามเนื้อฉีกขาดปานกลาง (Moderate strain) และกล้ามเนื้อฉีกขาดอย่างรุนแรง (Severe strain) มักเกิดจากการยกของหนักมากเกินไป การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว


หลักสำคัญในการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ

1.       หยุดพักการใช้กล้ามเนื้อนั้นทันที

2.       ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูงเพื่อลดอาการบวม

3.       ประคบเย็นบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อลดอาการบวมปวด ใช้ผ้ายืดพันบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อให้เลือดหยุดคั่งและจำกัดการเคลื่อนไหว
คุณค่าของการมีสมรรถภาพทางกายดี
1. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีย่อมจะทาให้ร่างกายได้มีการเจริญติบโตได้อย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายเติบโตได้สัดส่วน มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถทางานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีจะเป็นผู้ที่บุคลิกลักษณะดี สง่าผ่าเผย สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยความสง่างาม คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง
3. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ถ้าอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนจะสามารถตรากตรา มีสมาธิในการศึกษาเล่าเรียนได้ดี
4. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีในวัยเด็กจะทาให้เด็กคนนั้นเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น มีควมเชื่อมั่นในตนเองสูง
5. ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีย่อมจะควบคุมน้าหนักของตนเอง เพราะได้ออกกาลังกายอยู่เป็นประจา การควบคุมน้าหนักตัวด้วยวิธีลดอาหารอย่างเดียวนั้น เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง แต่ควรจะเป็นการควบคุมด้วยการออกกาลังกาย และควบคุมอาหารควบคู่กันไป
6. ผู้มีสมรรถภาพทางกายดี ย่อมจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทางานประสานกันระหว่างระบบไหลเวียนโลหิตกับระบบหายใจ ซึ่งจะเป็นการป้องกันโรคหัวใจเสื่อมสมรรถภาพได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันนี้เชื่อว่าวิธีป้องกันโรคนี้ก็ด้วยการออกกาลังกายเป็นประจา เพื่อให้มีสมรรถภาพทางกายดีนั่นเอง
7. ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดี ย่อมทาให้กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายมีสมรรถภาพดีด้วย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลังตอนล่างถ้ากล้ามเนื้อนี่มีสมรรถภาพดีแล้ว จะช่วยในการป้องกันโรคปวดหลังเมื่อมีอายุมากขึ้นได้ด้วย


ที่มา : http://www.mwit.ac.th/~jat/contents/40204/2.Conditioning.pdf